เมนู

คือบุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะ
ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง จักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นอรณธรรม เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[866] 1. สรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ฯลฯ ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสรณธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. สรณธรรม เป็นปัจจัยแก่อรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสรณธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. สรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สรณธรรม และอรณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. อรณธรรม เป็นปัจจัยแก่อรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำ
กุศลกรรมนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา ฯลฯ กุศลกรรมที่เคย
สั่งสมไว้ในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ

พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว พิจารณา ฯลฯ ผล ฯลฯ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้วพิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล,
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. อรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำ
กุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง
เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออก
จากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุ
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ

4. อนันตรปัจจัย


[867] 1. สรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสรณธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสรณธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. สรณธรรม เป็นปัจจัยแก่อรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสรณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. อรณธรรม เป็นปัจจัยแก่อรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรณธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นอรณธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
4. อรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สรณธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสรณธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.